SET

SET FX
Commodities are powered by Investing.com UK

วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

หลังเลือกตั้งอเมริกา ตลาดหุ้นจะเป็นอย่างไร

         ก่อนที่จะถึงการเลือกตั้งอเมริกาที่จะเกิดขึ้นในค่ำคืนนี้ตามเวลาประเทศไทย เรามาสรุปกันอีกครั้งค่ะว่าผลของการเลือกตั้งจะกระทบต่อสินทรัพย์ต่างๆทั่วโลกอย่างไร



จากตารางจะเห็นได้ว่าตลาดหุ้นชอบที่คลินตันจะมาเป็นประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาคนต่อไปมากกว่า เนื่องจากว่านโยบายที่ทำมาจากรัฐบาลโอบามาจะดำเนินต่อไป ไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรมากมายนักกับการเมืองของโลก  แต่ถ้าหากทรัมป์ได้เป็น ตลาดหุ้นมีแนวโน้มว่าจะลงก่อน เนื่องจากไม่แน่ใจในแนวทางของการเมืองโลก อีกทั้งทรัมป์เองมีการดำเนินนโยบายด้านต่างประเทศที่ทำให้ทั่วโลกต่างวิตกว่าจะเกิดสงครามทางการค้า
             อย่างไรก็ตามเพื่อที่จะลดความเสี่ยง ในช่วงก่อนที่จะถึงวันที่ผลการเลือกตั้งออกมา เราควรจะถือเงินสด แล้วค่อยเข้าลงทุนหลังจากผลการเลือกตั้งประกาศออกมาแล้วดีกว่าค่ะ ในขณะที่ทั่วโลกต่างวิตกกังวลว่าถึงผลกระทบหากทรัมป์ได้เป็นประธานาธิบดี หากเรามองอีกมุมหนึ่งก็ถือว่าเป็นโอกาสดีที่เราจะได้ซื้อหุ้นดีราคาถูกในช่วงที่ตลาดเกิดการปรับฐานรุนแรงค่ะ 


อ่าน " ผลกระทบของการเลือกตั้งอเมริกาต่อตลาดหุ้น ตอนที่ 1" บอกถึงนโยบายที่ทั้งสองคนมองต่างก้น ตามอ่านลิงค์นี้ค่ะ
http://trade2bepro.blogspot.com/2016/11/1.html
อ่าน " ผลกระทบของการเลือกตั้งอเมริกาต่อตลาดหุ้น ตอนที่ 2" บอกถึงนโยบายที่ทั้งสองคนมองเหมือนกัน ตามอ่านลิงค์นี้ค่ะ
http://trade2bepro.blogspot.com/2016/11/2.html
อ่าน" ผลกระทบของการเลือกตั้งอเมริกาต่อตลาดหุ้น ตอนที่ 3" เจาะลึกเรื่องนโยบายด้านโครงสร้างพื้นฐาน ตามอ่านลิงค์นี้ค่ะ
http://trade2bepro.blogspot.com/2016/11/3.html
อ่าน" ผลกระทบของการเลือกตั้งอเมริกาต่อตลาดหุ้น ตอนที่ 4" เจาะลึกเรื่องนโยบายด้านต่างประเทศ ตามอ่านลิงค์นี้ค่ะ
http://trade2bepro.blogspot.com/2016/11/4_5.html
อ่าน" ผลกระทบของการเลือกตั้งอเมริกาต่อตลาดหุ้น ตอนที่ 5" เจาะลึกเรื่องนโยบายด้านInternational Tax ตามอ่านลิงค์นี้ค่ะ
อ่าน" ผลกระทบของการเลือกตั้งอเมริกาต่อตลาดหุ้น ตอนที่ 6" เจาะลึกเรื่องนโยบายด้านสุขภาพ ตามอ่านลิงค์นี้ค่ะ
http://trade2bepro.blogspot.com/2016/11/6.html
อ่าน "ผลกระทบของการเลือกตั้งอเมริกาต่อตลาดหุ้น ตอนที่ 7" บทสรุป ตามลิงค์นี้ค่ะ
****บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อแสดงความคิดเห็น มิได้เป็นคำแนะนำซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า

วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ผลกระทบของการเลือกตั้งอเมริกาต่อตลาดหุ้น ตอนที่ 7



    จากทั้งหกตอนที่ผ่านมา เราได้รู้ถึงนโยบายที่มองเหมือนกัน นโยบายที่มองต่างกัน และได้เจาะลึกนโยบายต่างๆที่สำคัญไปแล้ว ในตอนนี้จะเป็นบทสรุปถึงผลกระทบที่จะมีการลงทุนทั่วโลกค่ะ

     ในทั้งหมดหกตอนที่ผ่านมา นโยบายของคลินตันโดยส่วนมากเป็นการดำเนินนโยบายต่อจากโอบามา เพราะฉะนั้นหากคลินตันได้เป็น ตลาดน่าจะส่งผลตอบรับในเชิงบวกในช่วงแรก แต่ก็จะไม่บวกมาก เพราะเป็นสิ่งที่ตลาดได้คาดการณ์ไว้แล้ว และจากที่บอกไว้ในตอนแรกแล้วว่าตลาดอาจจะได้รับแรงกดดันจากแรงขายของนักลงทุนที่ต้องการล็อคกำไรและเสียภาษีในอัตราต่ำก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลง ส่วนค่าเงินดอลล่าร์ก็น่าจะแข็งค่าขึ้น จากการที่ตลาดคาดว่าFedยังคงแนวทางในการขึ้นดอกเบี้ยอย่างค่อยเป็นค่อยไปและนักลงทุนต่างคาดหวังว่าFedจะมีการขึ้นดอกเบี้ยในเดือนธันวานี้

      ถ้าหากทรัมป์ได้เป็น เราจะได้เห็นแรงขายของตลาดทั่วโลกในช่วงแรก แต่เมื่อระยะเวลาผ่านไป แรงขายน่าจะเบาบางลง เพราะนโยบายของทรัมป์ต่างออกมาเพื่อกระตุ้นให้เกิดprivate consumptionอย่างมหาศาล ซึ่งเมื่อดูGDP ของอเมริกาแล้ว private consumptionมีสัดส่วนมากที่สุด ประกอบกับนโยบายที่จะลดcapital gain tax น่าจะทำให้คนชะลอการขายหุ้นไปที่ปี 2017 เพื่อเสียภาษีในอัตราที่ต่ำลง


       อย่างไรก็ตามไม่ว่าใครจะได้เป็นประธานาธิบดี เราได้เห็นแล้วว่านโยบายของทั้งสองคนส่งผลกระทบต่อการไหลออกของเงินในตลาดเกิดใหม่(Emerging Market) เราจึงควรลดน้ำหนักการลงทุน เก็บเงินสดไว้เพื่อซื้อในวันที่ตลาดลงแรงๆและเข้าซื้อหุ้นในกลุ่มที่เน้นไปในการอุปโภคบริโภคในประเทศเป็นหลัก หุ้นที่เกาะเทรนด์ประเทศไทย 4.0 หุ้นที่เกาะเทรนด์สังคมผู้สูงอายุ หุ้นที่เป็นDefensive เช่น กลุ่มโรงไฟฟ้า และแบ่งเงินบางส่วนลงทุนในทองคำค่ะ



อ่าน " ผลกระทบของการเลือกตั้งอเมริกาต่อตลาดหุ้น ตอนที่ 1" บอกถึงนโยบายที่ทั้งสองคนมองต่างก้น ตามอ่านลิงค์นี้ค่ะ

อ่าน " ผลกระทบของการเลือกตั้งอเมริกาต่อตลาดหุ้น ตอนที่ 2" บอกถึงนโยบายที่ทั้งสองคนมองเหมือนกัน ตามอ่านลิงค์นี้ค่ะ

อ่าน" ผลกระทบของการเลือกตั้งอเมริกาต่อตลาดหุ้น ตอนที่ 3" เจาะลึกเรื่องนโยบายด้านโครงสร้างพื้นฐาน ตามอ่านลิงค์นี้ค่ะ
http://trade2bepro.blogspot.com/2016/11/3.html

อ่าน" ผลกระทบของการเลือกตั้งอเมริกาต่อตลาดหุ้น ตอนที่ 4" เจาะลึกเรื่องนโยบายด้านต่างประเทศ ตามอ่านลิงค์นี้ค่ะ
http://trade2bepro.blogspot.com/2016/11/4_5.html

อ่าน" ผลกระทบของการเลือกตั้งอเมริกาต่อตลาดหุ้น ตอนที่ 5" เจาะลึกเรื่องนโยบายด้านInternational Tax ตามอ่านลิงค์นี้ค่ะ

http://trade2bepro.blogspot.com/2016/11/5.html

อ่าน" ผลกระทบของการเลือกตั้งอเมริกาต่อตลาดหุ้น ตอนที่ 6" เจาะลึกเรื่องนโยบายด้านสุขภาพ ตามอ่านลิงค์นี้ค่ะ
http://trade2bepro.blogspot.com/2016/11/6.html



****บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อแสดงความคิดเห็น มิได้เป็นคำแนะนำซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า

ผลกระทบของการเลือกตั้งอเมริกาต่อตลาดหุ้น ตอนที่ 6


    จากตอนที่แล้วเราได้เจาะลึกถึงเรื่องInternational taxและได้ทราบแล้วว่าจะส่งผลให้เงินไหลกลับไปยังประเทศอเมริกา ในตอนนี้เราจะมาดูถึงนโยบายที่เกี่ยวกับสุขภาพบ้างค่ะ



นโยบาย
Clinton
Trump
ด้านสุขภาพ
-ดำเนินเรื่องObamacareต่อไป
-ทำให้ยาราคาถูกลง
-ยกเลิกเรื่องObamacare
-ทำให้ยาราคาถูกลง

        จากตารางข้างบนเราจะเห็นได้ว่าทั้งสองคนมีเรื่องที่มองต่างกันคือเรื่องObamacare นโยบายเรื่องนี้มีผลดีต่อกลุ่มโรงพยาบาล เพราะฉะนั้นหากยังมีObamacare จะส่งผลบวกต่อกลุ่มโรงพยาบาล ถ้าไม่มี ก็จะส่งผลในเชิงลบต่อกลุ่มโรงพยาบาล
        ส่วนในเรื่องของราคายา ทั้งสองคนต่างอยากจะทำให้ยามีราคาที่ถูกลง ดังนั้นไม่ว่าคลินตันหรือทรัมป์จะได้เป็นประธานาธิบดี จะส่งผลในเชิงลบต่อกลุ่มผู้ผลิตยาและBiotech แต่อย่างไรก็ตามบริษัทยาโดยส่วนมากมีตลาดในอเมริกาคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 20 % ส่วนอีก 80% เป็นการขายนอกอเมริกา จึงจะไม่ส่งผลมากมายนัก ส่วนกลุ่มที่จะได้รับประโยชน์จากการที่ราคายาถูกลงก็คือกลุ่มที่เป็นช่องทางการจัดจำหน่ายยา เพราะเมื่อราคายาถูกลง ก็น่าจะผลักดันให้มียอดขายโตขึ้นค่ะ ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อดูจากสถิติย้อนหลังแล้ว กลุ่มที่เป็นช่องทางการจัดจำหน่ายยามักจะunderperformในช่วงก่อนการเลือกตั้ง หลังจากนั้นจะoutperformในปีหลังการเลือกตั้งค่ะ


อ่าน " ผลกระทบของการเลือกตั้งอเมริกาต่อตลาดหุ้น ตอนที่ 1" บอกถึงนโยบายที่ทั้งสองคนมองต่างก้น ตามอ่านลิงค์นี้ค่ะ

อ่าน " ผลกระทบของการเลือกตั้งอเมริกาต่อตลาดหุ้น ตอนที่ 2" บอกถึงนโยบายที่ทั้งสองคนมองเหมือนกัน ตามอ่านลิงค์นี้ค่ะ

อ่าน" ผลกระทบของการเลือกตั้งอเมริกาต่อตลาดหุ้น ตอนที่ 3" เจาะลึกเรื่องนโยบายด้านโครงสร้างพื้นฐาน ตามอ่านลิงค์นี้ค่ะ
http://trade2bepro.blogspot.com/2016/11/3.html

อ่าน" ผลกระทบของการเลือกตั้งอเมริกาต่อตลาดหุ้น ตอนที่ 4" เจาะลึกเรื่องนโยบายด้านต่างประเทศ ตามอ่านลิงค์นี้ค่ะ
http://trade2bepro.blogspot.com/2016/11/4_5.html

อ่าน" ผลกระทบของการเลือกตั้งอเมริกาต่อตลาดหุ้น ตอนที่ 5" เจาะลึกเรื่องนโยบายด้านInternational Tax ตามอ่านลิงค์นี้ค่ะ

http://trade2bepro.blogspot.com/2016/11/5.html



****บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อแสดงความคิดเห็น มิได้เป็นคำแนะนำซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า

ผลกระทบของการเลือกตั้งอเมริกาต่อตลาดหุ้น ตอนที่ 5


 จากตอนที่แล้วเราได้เจาะลึกเรื่องนโยบายด้านต่างประเทศ มาในตอนนี้เราจะมาดูกันถึงเรื่องInternational Taxที่มีผลต่อบริษัทจดทะเบียนต่างๆของอเมริกากันบ้างค่ะ
  ในตอนที่สองเราได้เห็นแล้วว่าทั้งสองคนมีนโยบายที่จะกระตุ้นให้บริษัทจดทะเบียนส่งเงินกลับมายังประเทศอเมริกา ในตอนนี้เรามาดูในรายละเอียดกันค่ะว่าทั้งสองคนจะใช้แนวทางไหนเพื่อให้บริษัทจดทะเบียนส่งเงินกลับมายังประเทศแม่




นโยบาย
Clinton
Trump
International Tax
แก้ไขกฏเกณฑ์ที่จะลดแรงจูงใจให้บริษัทต่างๆอยากไปตั้งกิจการที่ต่างประเทศเพื่อลดภาษี
-ลดภาษีนิติบุคคลให้กับทุกธุรกิจให้เสียเพดานสูงสุดที่ 15 %
- เปิดช่องให้บุคคลธรรมดาสามารถจดทะเบียนเป็นlimited liability corporationทำให้จากที่เคยเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ 39.6% มาเป็นเสียภาษีนิติบุคคลที่ 15 %


   จากตารางข้างต้นเราจะเห็นได้ว่าคลินตันต้องการที่จะทำให้การไปจัดตั้งบริษัทในต่างประเทศทำได้ยากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันมีบริษัทในอเมริกามากมายที่เข้าไปควบรวมกิจการกับกิจการอื่นในต่างประเทศแล้วย้ายสำนักงานใหญ่ไปอยู่ที่ต่างประเทศเพื่อที่จะลดภาษี หากออกกฏเกณฑ์ใหม่มา เราก็จะเห็นการออกไปควบรวมของบริษัทในอเมริกากับบริษัทต่างชาติน้อยลง สิ่งที่คลินตันหวังไว้คือรัฐบาลจะเก็บภาษีได้มากขึ้น โดยคาดว่าจะเก็บภาษีเข้ารัฐได้เพิ่มประมาณ 1.1 ล้านล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ เพื่อที่จะได้นำไปใช้ในนโยบายด้านโครงการประกันสุขภาพ, ด้านโครงสร้างพื้นฐาน,และด้านการศึกษาที่ตนได้หาเสียงไว้

      ส่วนมาทางฝั่งทรัมป์ออกนโยบายดึงดูดให้บริษัทที่ออกไปตั้งอยู่ที่ต่างประเทศและเก็บเงินไว้ที่ต่างประเทศเพื่อที่จะได้เสียภาษีในอัตราที่ต่ำกว่า เลือกที่จะส่งเงินกลับมาลงทุนที่อเมริกาแทน ซึ่งคาดว่าตามที่Tax Foundationประมาณการณ์ไว้ การดำเนินนโยบายของทรัมป์จะทำให้รัฐเสียรายได้ประมาณ 1.9 ล้านล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐเลยทีเดียว


ความคิดเห็นส่วนตัว

    ดูจากนโยบายทางของคลินตันคือจะหาเงินแล้วค่อยมาใช้ ส่วนทางทรัมป์เป็นในลักษณะที่จะใช้เงินเพื่อผลักดันให้เศรษฐกิจโต คล้ายๆกับการที่เราเห็นกิจการกู้เงินเพื่อมาลงทุน ทำให้สัดส่วนหนี้สินต่อทุนกระโดดขึ้นมาทันที ถ้าเกิดเศรษฐกิจบูมตามที่ทรัมป์ตั้งใจก็ไม่มีอะไรน่าห่วงเท่าไหร่ แต่ถ้าไม่เป็นไปอย่างที่เขาคิดไว้ ก็จะทำให้อเมริกาที่ขาดดุลอยู่แล้ว ขาดดุลเพิ่มขึ้นเข้าไปอีก
ในช่วงระยะสั้นๆเราน่าจะเห็นอเมริกาโตไปได้ แต่ในระยะยาวถ้าไม่เป็นไปตามที่ทรัมป์คิด ก็น่าเป็นห่วงอยู่ไม่น้อยค่ะ

   เมื่อมองผลกระทบของแนวทางของทั้งสองคนในเรื่องนี้ต่อตลาดเกิดใหม่(Emerging market) มีแนวโน้มว่านโยบายนี้จะผลักดันให้เงินไหลออกกลับไปยังอเมริกาไม่น้อยทีเดียวค่ะ



อ่าน " ผลกระทบของการเลือกตั้งอเมริกาต่อตลาดหุ้น ตอนที่ 1" บอกถึงนโยบายที่ทั้งสองคนมองต่างก้น ตามอ่านลิงค์นี้ค่ะ

อ่าน " ผลกระทบของการเลือกตั้งอเมริกาต่อตลาดหุ้น ตอนที่ 2" บอกถึงนโยบายที่ทั้งสองคนมองเหมือนกัน ตามอ่านลิงค์นี้ค่ะ

อ่าน" ผลกระทบของการเลือกตั้งอเมริกาต่อตลาดหุ้น ตอนที่ 3" เจาะลึกเรื่องนโยบายด้านโครงสร้างพื้นฐาน ตามอ่านลิงค์นี้ค่ะ
http://trade2bepro.blogspot.com/2016/11/3.html

อ่าน" ผลกระทบของการเลือกตั้งอเมริกาต่อตลาดหุ้น ตอนที่ 4" เจาะลึกเรื่องนโยบายด้านต่างประเทศ ตามอ่านลิงค์นี้ค่ะ
http://trade2bepro.blogspot.com/2016/11/4_5.html


****บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อแสดงความคิดเห็น มิได้เป็นคำแนะนำซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า

วันเสาร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ผลกระทบของการเลือกตั้งอเมริกาต่อตลาดหุ้น ตอนที่ 4

    จากสามตอนแรกเราได้รู้ถึงนโยบายที่ทั้งสองคนมองต่าง นโยบายที่มองเหมือนกันและเจาะลึกไปถึงเรื่องนโยบายด้านโครงสร้างพื้นฐานไปแล้ว ในตอนนี้เราจะมาเจาะลึกถึงนโยบายที่ทั่วโลกต่างจับตามองมากที่สุดนั่นคือ "นโยบายต่างประเทศ"ค่ะ

    จากความเดิมในตอนที่สอง เราได้ทราบแล้วว่าทั้งคู่ไม่ได้สนับสนุนเรื่องTrans-Pacific Partnership(TPP)ที่ประเทศไทยเองก็เป็นหนึ่งในประเทศที่จะมีแนวโน้มเข้าร่วมอยู่ในข้อตกลงนี้ด้วย เราเองก็ต้องได้รับกระทบไม่น้อยทีเดียว

 อ้างอิง http://www2.ops3.moc.go.th/

  จากข้อมูลตามตารางข้างบนจะเห็นได้ว่าไทยส่งออกไปสหรัฐอเมริกาเป็นสัดส่วนที่มากที่สุด ไทยจึงต้องได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน แต่ไม่น่ากลัวเท่ากับว่าหากทรัมป์ได้เป็น ทรัมป์ได้ยืนยันชัดเจนถึงการกีดกันทางการค้าโดยเฉพาะกับจีน ซึ่งในเมื่อจีนเป็นคู่ค้าที่สำคัญลำดับที่สองของไทย หากจีนส่งออกไปอเมริกาไม่ได้ เราเองก็จะพลอยส่งไปจีนได้น้อยลงด้วย เรื่องจีนจะถูกกีดกันทางการค้านี้ส่งกระทบหนักไปถึงประเทศที่เป็นคู่ค้าสำคัญของจีนอย่าง เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และไต้หวัน เราจึงเห็นว่าเวลาที่โพลออกมาว่าทรัมป์จะได้ ค่าเงินของประเทศเหล่านี้ต่างอ่อนยวบยาบ แต่ก็ยังไม่หนักเท่าค่าเงินเปโซของเม็กซิโก ซึ่งตอนนี้แทบจะเป็นปรอทวัดถึงโอกาสแห่งชัยชนะของทรัมป์ไปแล้ว

  เมื่อเรามาดูถึงคู่ค้าที่สำคัญของไทยในลำดับถัดๆมา ทุกประเทศต่างก็มีจีนและอเมริกาเป็นคู่ค้าที่สำคัญทั้งสิ้น จึงจะมองแค่ว่าผลกระทบจะมีแค่สัดส่วนการค้าของไทยกับสหรัฐอเมริกาไม่ได้  โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยเป็นประเทศที่มีสัดส่วนของการส่งออกต่อGDP ถึง 62 % ดังนั้นแม้ว่าภาครัฐจะทุ่มเงินลงมาในMega Projectเท่าไหร่ การที่จะหวังว่าGDPของไทยจะเติบโตอย่างก้าวกระโดด โดยที่ตัวเลขการส่งออกของไทยไม่ได้เติบโตไปด้วยจึงเป็นสิ่งที่หวังยาก


สรุป
 
    โดยส่วนตัวจึงคิดว่าไม่ว่าใครจะได้เป็นประธานาธิบดีสหรัฐคนใหม่เราจะได้เห็นค่าเงินในประเทศเกิดใหม่(Emerging Market)อ่อนค่าลงจากเงินที่ไหลออก เนื่องจากความกังวลเรื่องความไม่แน่นอนของการเมืองโลกที่เกิดขึ้นและจากทิศทางของFedที่มีแนวโน้มจะขึ้นดอกเบี้ย ดังนั้นจึงลดน้ำหนักการลงทุนในหุ้นในตลาดเกิดใหม่ แต่เมื่อไทยเองก็เป็นประเทศในตลาดเกิดใหม่ นักลงทุนที่ลงทุนเฉพาะในไทยจึงควรย้ายกลุ่มไปพึ่งพิงหุ้นที่อิงต่อการอุปโภคบริโภคในประเทศ ไม่อิงกับหุ้นกลุ่มส่งออกโดยเฉพาะกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ เน้นไปในหุ้นที่เกาะกระแสเทรนด์ของโลกและประเทศไทย 4.0 คือกลุ่มมีให้บริการทางอินเตอร์เนตและโครงสร้างทางเทคโนโลยี กลุ่มที่เป็นdefensiveอย่างโรงไฟฟ้า กลุ่มที่รับเทรนด์ของสังคมผู้สูงอายุ เช่น โรงพยาบาลและการท่องเที่ยว

ความคิดเห็นพิเศษ

 เนื่องจากตอนนี้กำลังเข้าช่วงปลายปี หลายๆคนคงจะเตรียมตัวเดินทางไปท่องเที่ยวกัน หากทรัมป์ได้เป็น เราจะได้เห็นค่าเงินของประเทศจีน ไต้หวัน ออสเตรเลียและเกาหลีใต้อ่อนลงเมื่อเทียบกับดอลล่าร์สหรัฐ ส่วนค่าเงินของสวิตเซอร์แลนด์แข็งขึ้นเมื่อเทียบกับดอลล่าร์สหรัฐ ส่วนค่าเงินของญี่ปุ่น หากไม่มีนโยบายใหม่ๆจากรัฐบาลญี่ปุ่นเพื่อทำให้ค่าเงินอ่อน เราก็จะเห็นค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับดอลล่าร์สหรัฐเช่นกัน

ส่วนหนุ่มๆคนไหนกำลังคิดจะซื้อทองขอสาวที่หมายปองแต่งงาน หากคลินตันได้เป็นก็อาจจะใจเย็นเรื่องซื้อทองไปได้ แต่ถ้าทรัมป์ได้เป็นก็ต้องรีบวิ่งไปซื้อทองกันหน่อยหล่ะค่ะ


อ่าน " ผลกระทบของการเลือกตั้งอเมริกาต่อตลาดหุ้น ตอนที่ 1" บอกถึงนโยบายที่ทั้งสองคนมองต่างก้น ตามอ่านลิงค์นี้ค่ะ

อ่าน " ผลกระทบของการเลือกตั้งอเมริกาต่อตลาดหุ้น ตอนที่ 2" บอกถึงนโยบายที่ทั้งสองคนมองเหมือนกัน ตามอ่านลิงค์นี้ค่ะ

อ่าน" ผลกระทบของการเลือกตั้งอเมริกาต่อตลาดหุ้น ตอนที่ 3" เจาะลึกเรื่องนโยบายด้านโครงสร้างพื้นฐาน ตามอ่านลิงค์นี้ค่ะ
http://trade2bepro.blogspot.com/2016/11/3.html


****บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อแสดงความคิดเห็น มิได้เป็นคำแนะนำซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า






ผลกระทบของการเลือกตั้งอเมริกาต่อตลาดหุ้น ตอนที่ 3








      จากสองบทความที่แล้วเราได้รู้ถึงนโยบายที่ทั้งคนมองต่างกันและนโยบายที่ทั้งสองคนมองเหมือนกันไปแล้วนะคะ สำหรับบทความนี้มาดูกันค่ะว่าเราจะนำความรู้ที่ได้มาใช้วิเคราะห์ในการลงทุนของเราอย่างไร 

นโยบายทางด้านโครงสร้างพื้นฐาน(Infrastructure Spending)

       อย่างที่เราทราบๆกันดีว่าโดยปกติทั่วไปแล้วประเทศที่นับว่าเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว จะไม่ใช้งบประมาณในส่วนนี้มากมายเท่าใดนัก อย่างประเทศอเมริกาเองก็คงงบประมาณในด้านนี้มาในระดับต่ำมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1949 แต่มาในคราวนี้ในสองคนจะมาใช้งบประมาณในด้านนี้ โดยที่Clinton จะใช้ประมาณ 275 พันล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ ส่วนTrumpจะใช้สูงถึง 1 ล้านล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐหรือสูงกว่าClintonเกือบ 4 เท่าเลยทีเดียว แต่อ่านแล้วก็อาจจะยังคิดไม่ออกว่าเงินจำนวนที่ทั้งสองคนจะใช้มันมากมายมหาศาลขนาดนั้น ลองดูตารางและกราฟตามข้างล่างนี้ดูค่ะ อาจจะพอคิดคร่าวๆได้ถึงความมหาศาลของเงินงบประมาณที่จะทุ่มทุนสร้างในเรื่องนี้ 



แท่งเทียนแสดงเงินที่รัฐบาลจีนลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานตั้งแต่ปี ค.ศ. 1992-2013เทียบกับประเทศต่างๆทั่วโลก


อ้างอิงจาก http://www.bloomberg.com/news/articles/2016-06-15/china-spends-more-on-infrastructure-than-the-u-s-and-europe-combined#media-2





                     จากข้อมูลของบนอาจจะเป็นไปตามที่หลายๆคนคาดคิดคือจีนเป็นผู้ใช้งบประมาณด้านโครงสร้างพื้นฐานมากกว่าใคร การใช้งบประมาณในด้านนี้อย่างมหาศาลก็ได้ผลักดันให้ราคาCommoditiesขึ้นอย่างมากมายทั่วโลกมาแล้ว เมื่อกลับมามองที่อเมริกาหากทรัมป์ได้เป็นรัฐบาลและใช้งบประมาณ 1 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐในโครงสร้างพื้นฐาน ก็ถือเป็นเงินไม่ใช่น้อยเลย ที่ผ่านมาอเมริกาใช้เงินไปในการทำQEทั้งหมดโดยประมาณ 3.7 ล้านล้านดอลล่าสหรัฐ (ทั้งโลกใช้ประมาณ 12.3 ล้านล้านดอลล่าสหรัฐ) ก็เท่ากับว่าใช้งบสร้างโครงสร้างพื้นฐานเกือบๆจะ 1 ใน 3 ของงบประมาณในการทำQEเลยทีเดียว เงินจำนวนนี้จึงทำให้เกิดการจ้างงานในอเมริกา ความต้องการในสินค้าโภคภัณฑ์ต่างๆในการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน แม้ว่านโยบายของทรัมป์จะทำให้เกิดการขาดดุลเพิ่มขึ้นไปอีก แต่เขาก็คาดหวังว่าการทุ่มทุนในเรื่องนี้จะผลักดันให้เศรษฐกิจโตจนมาชดเชยกับการขาดดุลในที่สุด

บทสรุป

                       หากถามว่าเมื่อดูเพียงนโยบายเรื่องโครงสร้างพื้นฐานแล้วจะลงทุนในอะไรดี ส่วนตัวแล้วคิดว่าสินค้าcommoditiesเป็นสิ่งที่น่าลงทุนหรือถ้าใครเล่นหุ้นที่อเมริกาก็ลองดูกลุ่มที่รับเหมาก่อสร้างงานจากภาครัฐดูค่ะ ส่วนว่าจะขึ้นแรงมากน้อยแค่ไหนนั้นก็คงบอกได้ว่าถ้าคลินตันได้ ด้วยเงินที่จะไหลเข้ามาน้อยกว่าก็น่าจะผลักดันราคาให้ขึ้นไปได้น้อยกว่า หากทรัมป์ได้เป็น ราคาก็น่าจะไปได้ไกลกว่าค่ะ

อ่าน "ผลกระทบของการเลือกตั้งอเมริกาต่อตลาดหุ้น ตอนที่ 4" ตามลิงค์นี้ค่ะ
http://trade2bepro.blogspot.com/2016/11/4_5.html

อ่าน " ผลกระทบของการเลือกตั้งอเมริกาต่อตลาดหุ้น ตอนที่ 1" ตามลิงค์นี้ค่ะ

อ่าน ตอนที่ 2 ในนโยบายที่ทั้งสองคนมองเหมือนกันตามลิงค์ข้างล่างนี้ได้เลยค่ะ


****บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อแสดงความคิดเห็น มิได้เป็นคำแนะนำซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า

วันศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ผลกระทบของการเลือกตั้งอเมริกาต่อตลาดหุ้น ตอนที่ 2

ในตอนที่แล้วเราได้รู้ถึงนโยบายที่ทั้งสองคนมองต่างกันไปแล้ว ในตอนที่สองนี้เรามาดูถึงนโยบายที่ทั้งสองคนมองเหมือนกันบ้างค่ะ นโยบายที่ทั้งสองคนมองไปในทิศทางเดียวกันเป็นถ้าเรื่องที่เรารู้แล้ว เราสามารถจะประเมินถึงสถานการณ์ของตลาดได้ไม่ว่าใครจะได้เป็นประธานาธิบดีก็ตาม มาดูกันดีกว่าค่ะว่านโยบายที่ทั้งสองคนมองเหมือนกันมีอะไรบ้าง
นโยบาย
Clinton
Trump
นโยบายเกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน
(Infrastructure Spending)
-คิดว่าจะใช้ประมาณ 275 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐสำหรับการสร้างโครงสร้างพื้นฐานของอเมริกา
-คิดว่าจะใช้ประมาณ 1 ล้านล้านดอลล่าร์สหรัฐสำหรับการสร้างโครงสร้างพื้นฐานของอเมริกา
นโยบายต่างประเทศ
-ไม่สนับสนุนTrans-Pacific Partnership (TPP) ซึ่งมีประเทศไทยรวมอยู่ในกลุ่มของข้อตกลงนี้ด้วย
-ไม่สนับสนุนTrans-Pacific Partnership (TPP) ซึ่งมีประเทศไทยรวมอยู่ในกลุ่มของข้อตกลงนี้ด้วย
-จะสร้างกำแพงกั้นระหว่างพรมแดนเม็กซิโกและอเมริกา
-สนับสนุนการกีดกันทางการค้าเต็มที่ โดยเฉพาะกับทางจีน
-ไม่สนับสนุนการเปิดเสรีทางการค้าถึงขนาดที่ว่าจะออกจากNAFTAและWTO
-กีดกันแรงงานต่างด้าว
International Tax
-ออกกฏหมายInternational taxที่กระตุ้นให้เงินไหลกลับอเมริกา
-ออกกฏหมายInternational taxที่กระตุ้นให้เงินไหลกลับอเมริกา







ผลกระทบ
  1. จากการที่ทั้งสองคนจะใช้งบประมาณในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานสูง ซึ่งอเมริกาใช้นโยบายในด้านนี้อยู่ในระดับต่ำมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1949 การใช้งบประมาณเพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานนี้จะทำให้เกิดการจ้างงาน เมื่อคนมีงานก็มีเงิน ทำให้คาดว่าGDPของอเมริกาจะโตขึ้นประมาณ 0.3-0.6%เลยทีเดียว
  2. เงินจะไหลออกจากตลาดเกิดใหม่(Emerging Market) เมื่อเศรษฐกิจของประเทศพัฒนาแล้วเริ่มดี มีกฏหมายที่กระตุ้นให้เงินไหลกลับไปยังประเทศแม่ การที่จะเห็นเงินไหลกลับไปในที่ที่จากมาก็ต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
  3. การกีดกันทางการค้าจะทำให้ประเทศที่มีการส่งออกไปที่อเมริกาได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะกลุ่มประเทศละตินอเมริกาที่มียอดส่งออกไปอเมริกาที่สูงมากอย่างเม็กซิโกและโคลัมเบีย ส่วนประเทศที่ได้รับผลกระทบน้อยกว่าที่อื่นจะเป็นอินเดียและอินโดนีเซีย เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมามีการเจริญเติบโตภายในประเทศที่สูง


***โปรดติดตามผลกระทบของการเลือกตั้งอเมริกาต่อตลาดหุ้น ตอนที่ 3 เร็วๆนี้ค่ะ

อ่าน " ผลกระทบของการเลือกตั้งอเมริกาต่อตลาดหุ้น ตอนที่ 1" ตามลิงค์นี้ค่ะ


****บทความนี้เขียนขึ้นเพื่อแสดงความคิดเห็น มิได้เป็นคำแนะนำซื้อขายหลักทรัพย์หรือสัญญาซื้อขายล่วงหน้า