SET

SET FX
Commodities are powered by Investing.com UK

วันพุธที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ระดับความเสี่ยงที่เหมาะสมแท้จริงควรเป็นเช่นไร

การลงทุนมีความเสี่ยง เราควรจะประเมินความเสี่ยงที่เหมาะสมสำหรับตัวเอง คนส่วนมากเมื่อเห็นผลตอบแทนสูงๆ มักจะมองข้ามความเสี่ยงไปเลยสิ้นเชิง พูดอย่างนี้อาจจะยังไม่เห็นภาพ ให้นึกถึงตอนที่มีคนมาบอกเราว่าได้กำไรจากการลงทุนในตราสารอนุพันธ์และForexมาเยอะมาก เป็นร้อยเป็นพันเปอร์เซนต์ในระยะเวลาแค่ไม่กี่วัน ทำให้เราตาลุกวาว อยากจะไปได้ผลตอบแทนอย่างนั้นบ้าง ก็ผลีผลามเข้าไปลงทุนโดยทันที คือมองแต่กำไรเลยทำให้มองข้ามความเสี่ยงไป เมื่อเข้าไปลงทุนแล้ว แรกๆจะด้วยสภาพตลาดอำนวยหรือว่าสวรรค์เป็นใจก็ตาม ทำให้ได้กำไรเป็นร้อยเป็นพันเปอร์เซนต์ภายในไม่กี่วันอย่างที่ใครใครมาโฆษณาให้ฟัง ก็เลยฮึกเหิมดีใจใส่เงินเข้าไปลงทุนใหญ่ แต่พอไม่กี่วันถัดมาก็ขาดทุนและทำใจไม่ได้ทำให้ตัดขาดทุนไม่ได้ ทำให้เสียหายหนักกว่าที่เคยได้ เรียกได้ว่าคืนเขาแล้วยังต้องเข้าเนื้อตัวเองอีก ถ้าสถานการณ์แบบนี้เคยเกิดขึ้นกับคุณมาก่อน คุณก็เป็นคนที่รับความเสี่ยงมากๆไม่ได้หรือไม่เหมาะกับสภาพตลาดที่ผันผวน ทนที่จะเห็นพอร์ตโตสุดขีดไปสรวงสวรรค์อย่างรวดเร็วได้ แต่ทนจะเห็นมันดิ่งลงนรกอย่างรวดเร็วไม่ได้ ถ้าเป็นอย่างนี้ให้อยู่ไกลๆจากสินค้าที่มีความผันผวนสูง หลักการโดยทั่วไปคือเป็นพวกไม่ชอบเสี่ยงก็ต้องอยู่พวกที่ได้ผลตอบแทนต่ำๆ แต่แน่นอนพวกที่เสี่ยงมากก็ไปแสวงหาผลตอบแทนที่มากกว่าได้ High risk High return Low risk Low return ว่างั้น
แต่ในความเป็นจริงคนที่่รับความเสี่ยงได้มากก็มีวันที่มันบีบหัวใจเหมือนกัน เช่นพวกที่Overtrade เพราะหวังกำไรอย่างรวดเร็ว สุดท้ายอารมณ์มันบดบังไปหมด ไอ้ที่ได้วางแผนและจุดCut lossไว้อย่างดีก็เลยใจสั่นๆ
งั้นแบบไหนที่เรียกว่าพอดี เราไปทำtestวัดความสามารถในการรับความเสี่ยงกันดีไหม? วัดออกมาปรากฏว่าเราเสี่ยงได้ปานกลางค่อนไปทางสูง แต่ทำไมเวลาราคามันแกว่ง ใจมันหล่นไปที่ตาตุ่มทุกที คราวนี้ก็มานั่งคิดว่ามันจริงเหรอที่เราเสี่ยงได้ปานกลางค่อนข้างสูง

อันที่จริงแล้วจากประสบการณ์เรื่องความเสี่ยงที่เรายอมรับได้ สิ่งที่ชี้วัดได้ดีที่สุดไม่ใช่หลักการที่บอกว่าคุณควรจะCut lossที่5%หรือ10%หรืออะไรก็ตาม ลองคิดดูว่าถ้าคุณเอาเงินเก็บที่มีอยู่1,000,000บาทไปลงทุน สิบเปอร์เซนต์เท่ากับ100,000บาท ถ้าเงินหนึ่งแสนไม่ได้ยากเย็นที่จะหาสำหรับคุณ มันก็ตัดขาดทุนได้ง่าย แต่ถ้าเงินหนึ่งแสนเป็นเท่ากับหนึ่งในสิบของเงินเก็บทั้งหมดที่คุณมีหล่ะ มันก็ยากใช่ไหม
ฉะนั้นที่แท้จริงแล้วความเสี่ยงที่เหมาะสมสำหรับแต่ละคน โดยประสบการณ์ส่วนตัวของผู้เขียนแล้วคิดว่าความเสี่ยงที่เหมาะสมเท่ากับจำนวนเงินที่ทำให้เรายังตัดขาดทุนได้ตามแผนที่วางไว้ ถ้าคุณมีเงิน1,000,000บาท แล้วคุณสามารถตัดขาดทุนได้โดนไม่ยากเย็นที่10,000บาท ฉะนั้นความเสี่ยงของคุณที่ยอมรับได้คือ1% อยากให้เป็น10%ก็ได้ แต่คุณต้องลดเงินที่เข้าลงทุนในแต่ละครั้งให้ลดลงเหลือ100,000 บาท ไม่ใช่เข้าทีเดียว1,000,000บาท

ดังนั้นความเสี่ยงที่เหมาะสมที่แท้จริงแล้วคือจุดตัดขาดทุนที่เรายังทำตามแผนการเทรดของเราได้ เมื่อมันถึงจุดตัดขาดทุน

วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Moral Hazard


 Moral Hazardหรือจริยวิบัติคืออะไร ทำไมถึงมีความสำคัญนัก เรามาลองทำความเข้าใจกันดู Moral Hazardเป็นศัพท์ที่เกิดขึ้นในวงการประกันภัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทประกันอัคคีภัย เมื่อสังเกตุว่าเจ้าของทรัพย์สินซึ่งทำประกันความเสียหายเต็มวงเงินมีแนวโน้มอยากให้เกิดอัคคีภัยร้ายแรง แล้วมันมาเกี่ยวอะไรกับความเข้าใจในโลกการเงินหล่ะ ลองคิดตามดู ถ้ามีคนให้เงินคุณ1000 ล้าน เอาไปลงทุนอะไรก็ได้ กำไรดอกผลจากเงินลงทุนคุณได้ แต่ถ้าสูญไปทั้งหมดคุณก็ไม่ต้องรับผิดชอบอะไร คุณจะเสี่ยงสุดตัวเลยใช่ไหม เพื่อให้ได้ผลตอบแทนมากที่สุด แถมความเสี่ยงนั้นคุณก็ไม่ต้องรับ เพราะว่าเจ้าของเงินรับความเสี่ยงแทนคุณทั้งหมด นั่นหล่ะคือสิ่งที่เกิดขึ้นบนโลกการเงิน ผลตอบแทนของนายธนาคารและเทรดเดอร์นั้นมหาศาล โดยเอาเงินคนอื่นไปเสี่ยงแถมคุณยังต้องจ่ายค่าจ้างให้นายธนาคารและเทรดเดอร์เอาเงินไปเสี่ยงด้วย มันเป็นอาชีพที่ดีซะนี่กระไร คราวนี้เริ่มเข้าใจหรือยังว่าMoral Hazardมีบทบาทอย่างมากที่ทำให้โลกนี้อยู่บนวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ เพราะเมื่อมันมีโบนัสก้อนโตล่อใจ นายธนาคารทั้งหลายก็เอาเงินออกไปแสวงหากำไรในธุรกรรมใดใดที่ทำให้เกิดกำไรสูงสุด โดยไม่ต้องคำนึงถึงความเสี่ยงอีกต่อไป เพราะถ้ามันไปได้ดีทุกคนHappy แต่ถ้ามันไปได้ไม่ดีก็แค่ประกาศล้มละลายแล้วรอให้รัฐบาลมาปัดกวาดเช็ดถูเท่านั้นเอง ถ้ายิ่งจะฉลาดไปกว่านั้นก็ตั้งบริษัทลูกขึ้นมาแล้วปล่อยกู้ให้บริษัทลูกซะเลย เกิดวิกฤตเศรษฐกิจทีไร เราจึงเห็นรัฐบาลเข้าไปอุ้มสถาบันการเงิน คนที่รวยก็เครือญาตินักการเมืองหรือนายธนาคารที่ให้เงินนักการเมืองทั้งหลาย ส่วนผู้เสียหายก็คือประชาชน นอกจากจะสูญเงินที่ฝากแล้วยังต้องเอาภาษีไปอุ้มสถาบันการเงินพวกนี้อีก โอ้..โลกนี้ช่างสวยงาม

วันเสาร์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Shock Therapyกับดักของคนโลภ

หลังจากเราเรียนรู้เรื่องNeoliberalismกันแล้ว ถึงเวลาที่จะเรียนรู้เครื่องมือสำคัญของNeoliberalismที่ใช้ยึดครองทรัพย์สินของประเทศหนึ่งๆนั่นคือShock Therapy 
มาดูความหมายของเครื่องมือนี้กันก่อน Shock therapyเป็นเครื่องมือที่IMFใช้แก้ปัญหาเศรษฐกิจ ซึ่งจะใช้วิธีลอยตัวราคาสินค้าและอัตราแลกเปลี่ยนทันที รวมทั้งสั่งให้ประเทศนั้นๆ เปิดเสรีทางการค้า แปรรูปรัฐวิสาหกิจและสาธารณูปโภค เปิดประเทศให้การลงทุนจากต่างชาติเข้ามา เริ่มคุ้นๆกันแล้วใช่ไหม? ใช่แล้ว.. มันเป็นวิธีที่่IMFสั่งให้ประเทศไทยใช้ในช่วงที่เราเผชิญกับวิกฤตต้มยำกุ้ง 

ในเมื่อโลกนี้ไม่มีอะไรฟรี ถ้าเราต้องยืมเงินจากIMF ก็ต้องทำตามเงื่อนไขของIMF คือยอมเปิดทางให้คนของเค้าเข้ามาshoppingซื้อสมบัติของชาติเราได้อย่างสบายใจ นโยบายนี้ก็ไม่ได้แย่ซะทีเดียวเพราะเมื่อมองในทางเศรษฐศาสตร์การลดค่าเงินจะทำให้สินค้าของประเทศนั้นๆแข่งขันได้ดีขึ้นในตลาดโลก เมื่อของมันถูกและมีคนเข้ามาซื้อเยอะๆ เวลาผ่านไปเศรษฐกิจก็จะฟื้นขึ้นมาได้

แต่ในที่นี้เราวิจารณ์ในเรื่องของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจและการเปิดประเทศให้การลงทุนของต่างชาติเข้ามาได้เสรีมากขึ้น ซึ่งเป็นแกนหลักของNeoliberlism จะเข้าใจให้ลึกซึ้งในเรื่องนี้เราต้องเข้าใจโลกกันซะใหม่ในแนวทางของทฤษฎีผลประโยชน์ เพราะการเข้าใจทฤษฎีผลประโยชน์จะทำให้เราเข้าใจเรื่องต่างๆที่อยู่ข้างหลังนโยบายของรัฐและทฤษฏีทางเศรษฐกิจและการเงินต่างๆที่เราเรียนกันในสถาบันการศึกษา

เพื่อความเข้าใจในทฤษฏีผลประโยชน์ซึ่งผลักดันไปสู่แนวคิดNeoliberalismและนำไปสู่shock therapyของIMF เรามาดูตัวอย่างนี้กัน สมมุติว่าเราเป็นอภิมหาเศรษฐีมีเงินอยู่ล้นฟ้า แต่สมบัติที่อยากได้มันถูกกีดขวางไม่ให้เป็นเจ้าของด้วยเหตุบางประการ เช่น ในกรณีนี้คือกฏหมายของประเทศนึงๆที่ออกมาควบคุมการถือครองทรัพย์สินของคนต่างชาติ คนที่มีเงินอยู่ล้นฟ้าอย่างอภิมหาเศรษฐีของโลกเค้าก็แค่รอวันที่คนในประเทศนั้นผิดพลาดด้วยความโลภของคนในชาตินั้นเองแล้วให้องค์กรที่เขามีอำนาจควบคุมได้เข้าไปช่วยเหลือพร้อมกับเสนอเงื่อนไขที่เอื้อประโยชน์ต่อเขา อย่างในประเทศไทยตอนนั้น คนไทยแห่ไปกู้เงินจากต่างประเทศมาเก็งกำไรอสังหาริมทรัพย์ แต่อัตราแลกเปลี่ยนของเราถูกกำหนดตายตัว คิดดูว่าค่าเงินบาทของเราบิดเบือนไปจากกฏของDemandและSupplyขนาดไหน เป็นช่องให้Hedge fundขนาดใหญ่เข้ามาโจมตีค่าเงิน และเมื่อวันนึงธนาคารแห่งประเทศไทยไม่สามารถจะปกป้องค่าเงินบาทได้อีกต่อไป คนต่างชาติพวกนั้นก็ได้กำไรสองเด้งคือกำไรค่าเงินและการได้shoppingซื้อทรัพยากรของเราและบริษัทต่างๆในราคาที่ถูกกว่าเดิม ในตอนนั้นบริษัทและธนาคารต่างๆในประเทศต่างยินยอมด้วยความกล้ำกลืนปนโล่งอก เพราะถึงต้องให้ต่างชาติเข้ามาถือหุ้นก็ยังดีซะกว่าที่จะปล่อยให้บริษัทและธนาคารที่บรรพบุรษสร้างมาเจ๊งไปในยุคของตน บริษัทและธนาคารต่างๆในตอนนั้นต้องเพิ่มทุนด้วยการพึ่งเงินลงทุนของต่างชาติเพราะคนในประเทศไม่มีเงินมากพอที่จะเข้าไปซื้อกิจการเหล่านั้น ฉะนั้นบริษัทและธนาคารของไทยต่างๆเลยกลายเป็นลูกครึ่งตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ดังนั้นถ้าจะกล่าวโทษใครสักคนที่ทำให้ประเทศไทยต้องแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่างๆและทำให้บริษัทใหญ่ๆของไทยในวันนี้มีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาเป็นเจ้าของกันเต็มไปหมด เราคงโทษใครไม่ได้นอกจากความโลภของเราเอง ถ้าในวันนั้นเราไม่ได้โลภมาก หลงภาพกับฟองสบู่ใบโต IMFไม่มีทางจะใช้shock therapyกับเราได้เลย เมื่อรู้เช่นนี้แล้วจะไม่เรียกshock therapyว่าเป็นกับดักของคนโลภได้อย่างไร